รายละเอียด
นักจัดซื้อ-ต่างประเทศ (Oversea Procurement)
หัวข้อใหม่นี้ พัฒนาขึ้นมา เพื่อเป็นการต่อยอดจากการอบรม เรื่อง เจาะลึก..เพื่อแก้ปัญหางานจัดซื้อ (Deep in Purchasing Job) ซึ่งหลายท่านที่ได้อบรมไปแล้ว ก็จะได้รับ หลักการ / แนวคิด / วิธีการ ในการทำงานและการแก้ปัญหาในงานจัดซื้อไปแล้ว (เท่ากับ 60 % ของงานจัดซื้อทั้งหมด) แต่ถ้าท่านอยากจะเติบโตไปเป็น Manager / Supervisor ซึ่งจะต้องมีความรู้ที่จะสามารถดูแล งานจัดซื้อได้ทั้งระบบ !จึงจำเป็นที่ท่านจะต้องมีความรู้ในการจัดซื้อต่างประเทศด้วย ! (เท่ากับ 40 % ที่เหลือของของงานจัดซื้อ) ดังนั้นหัวข้อ “ นักจัดซื้อ-ต่างประเทศ (Oversea Procurement)” จึงได้ออกแบบมาเพื่อให้ ท่านสามารถที่จะทำงานจัดซื้อไปยังต่างประเทศได้อย่างมืออาชีพ การจัดซื้อ-ต่างประเทศ ทุกองค์กรอาจเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) แต่ว่าการสื่อสารได้ ก็ถือเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นเท่านั้น ในการเป็น นักจัดซื้อ-ต่างประเทศ (Oversea Procurement) การที่จะทำการจัดซื้อไปยังต่างประเทศได้ จำเป็นต้องรู้เรื่อง การทำธุรกิจระหว่างประเทศ (International trade) และ เทคนิคในการจัดซื้อ/จัดหา ต่างประเทศ (Oversea procurement technique)
หัวข้ออบรม
การจัดซื้อ/จัดหา ต่างประเทศ (Oversea procurement technique) ประกอบด้วย
A. คำศัพท์และเงื่อนไข ที่เอามาใช้ในการสื่อสาร (Technical terms) ซึ่งมีการใช้ตัวย่อ (Abbreviations) และมีความหมายเฉพาะ ที่จะต้องศึกษา และทำความเข้าใจในการนำมาใช้งาน
B.กระบวนการในการสั่งซื้อ / การชำระเงิน / การขนส่ง ที่แตกต่างไปจากการจัดซื้อแบบในประเทศ (Domestic Procurement) ท่านจำเป็นต้องรู้ และต้องสามารถควบคุมการปฏิบัติงานทั้งหมดได้
C. สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (Tax privilege) เพื่อให้ได้รับการลดหย่อน หรือยกเว้นในภาษีนำเข้า จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สิทธิ ที่มีหลายรูปแบบ หลายประเภท
D.ข้อควรระวัง และปัญหาในการทำงาน ที่ต้องรู้ก่อนดีกว่า การไปลองผิดลองถูก (ในห้องเรียนนี้ ผู้สอนจะแนะนำ ด้วยการแชร์ประสบการณ์จริง จากการทำงาน ที่มากกว่า 20 ปีในการเป็น Oversea Procurement)
หมายเหตุ : หลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า สามารถจะใช้บริการของ Shipping Company มาช่วยแนะนำให้ ซึ่งมันก็ได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างลืมว่าหน้าที่หลักของเขา คือ ทำพิธีการทางศุลกากร (Custom clearance) แต่ธุรกิจระหว่างประเทศมันกว้าง และมีรายละเอียดที่มากกว่านั้น และถ้าเกิดความเสียหายขึ้น ใครที่ต้องรับผิดชอบ ! ห้องเรียน นักจัดซื้อ-ต่างประเทศ (Oversea Procurement) นี้ คุณจะได้เรียนรู้ถึง 10 Topics ที่สำคัญมากๆ ดังนี้
1. International Trade : องค์ประกอบของธุรกิจระหว่างประเทศ / หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Concern Party) ว่ามีอะไรบ้าง !
2. Tax Privilege : สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณสามารถเอามาใช้ลดต้นทุนในการนำเข้าได้ แต่ละสิทธิมีเงื่อนไข และวิธีการอย่างไร !
3. Currency (สกุลเงิน) : สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการใช้สกุลเงินต่างๆ และการบริหารจัดการในอัตราแลกเปลี่ยน (Multi Currency / Exchange Rate)
4. Payment Terms : ข้อตกลงในการชำระ และวิธีการชำระเงิน ในรูปแบบต่างๆ ที่คุณต้องรู้ และเข้าใจ
5. Trade Obligation : รูปแบบข้อผูกพันที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อตกลงในการขนส่ง (Term of Delivery) / วิธีการขนส่ง (Mode of Shipment) / การโอนความเสี่ยงภัย (Transfer of Risk) / ข้อกำหนดภายใต้ Incoterms 2020
6. Ordering Process & Document : วิธีการสั่งซื้อ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น RFQ / Quotation / Proforma Invoice / Purchase Order
7. Shipping Document & Other Document : เอกสารเพื่อการนำเข้าเป็นอย่างไร ? เพื่ออะไร ? เช่น Invoice / Packing List / Bill of Lading / Air Way Bill / County of Origin / Other Document
8. Letter of Credit (L/C) : ข้อตกลงการชำระเงินแบบ รูปแบบ L/C : มีวิธีการ / เงื่อนไข / ข้อควรระวัง อย่างไร !
9. Management : การบริหารจัดการ รวมถึงข้อแนะนำพิเศษต่างๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
10. Professional Procurement : การทำ Oversea Procurement ให้บรรลุเป้าหมาย
สัมมนาออนไลน์ผ่าน zoom วันที่ 13 ก.ค 64 และวันที่ 31 ก.ค 64
เวลา 10.00 - 15.30 น.
ราคา 1900 (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ผู้จัด: Simplex Training
ผู้ติดต่อ: ผู้จัดงาน
โทรศัพท์: 0944896364