เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร การบริหารงานจัดซื้อ และการจัดการสต็อกเพื่อลดต้นทุน อบรม 19 พฤศจิกายน 2567
การบริหารงานจัดซื้อ หมายถึงการจัดการกระบวนการเพื่อให้ได้สินค้าและการบริการที่ต้องการจากคู่ค้าหรือบุคคลภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพทั้งด้านต้นทุนและความเหมาะสม การบริหารงานจัดซื้อที่ดีคือการจัดซื้อสินค้าแบบถูกสถานที่ ถูกเวลา คุณภาพที่ถูกต้อง ด้วยต้นทุนที่ต่ำอย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดได้
การบริหารงานจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการสินค้าของลูกค้ามากขึ้น เช่น ฝ่ายผลิตจะสามารถผลิตสินค้าได้ทันและส่งมอบได้ตรงเวลามากขึ้น ช่วยลดต้นทุนสินค้าคงคลังของฝ่ายคลังสินค้าวัตถุดิบ และยังเพิ่มความมั่นใจให้ฝ่ายการขายและการตลาดในการทำการตลาดเชิงรุกเพื่อกระตุ้นความต้องการสินค้าของลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นอีกด้วย
ในขณะที่ฝ่ายคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ หรือ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จะสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังลงได้เป็นอย่างมาก ด้วยการรับมอบชนิดของสินค้าตามความต้องการของลูกค้าและในปริมาณที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งได้ และสร้างผลประกอบการให้กับองค์กรได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสามารถบริหารงานจัดซื้อสินค้าและการบริการได้อย่างเหมาะสมกับองค์กร
2.เพื่อให้มีสินค้าและการบริการตามชนิดและปริมาณตามที่ลูกค้าต้องการได้อย่างสม่ำเสมอ
3.เพื่อลดต้นทุนการปฏิบัติงานด้านจัดซื้อได้อย่างเหมาะสม
4.เพื่อลดต้นทุนโดยรวมของสินค้าคงคลังให้ต่ำอย่างเหมาะสม
5.เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสร้างผลประกอบการขององค์กรได้มากขึ้น
หัวข้อสัมมนา เวลา9.00 – 16.00
1. การบริหารงานจัดซื้อคืออะไร วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของการบริหารงานจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ (Purchasing Management Efficiency Benefits)
2.ขั้นตอนของการบริหารงานจัดซื้อที่เหมาะสม(Purchasing Management Steps)
3. การหาแหล่งของสินค้าเพื่อการจัดซื้อสินค้าที่เหมาะสม (Identifying Potential Supplier)
4. การประเมินและเปรียบเทียบแหล่งที่มาของสินค้า (Researching and Comparing)
5. การเจรจาต่อรองด้านราคา (Negotiating Prices)
6. การบริหารจัดการคำสั่งซื้อสินค้า(Order Management)
7.การติดตามระยะเวลาการส่งมอบสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Tracking Delivery Times)
8.การควบคุมการรับมอบสินค้าจากคู่ค้าที่เหมาะสม (Monitoring Receipt of Goods)
9.ชนิดและรูปแบบของกระบวนการชำระเงิน(Payment Processing)
10.การประเมินคุณภาพของคู่ค้า(Supplier Evaluation)
11.การจัดการสต็อกเพื่อการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง (Reduce Cost of Inventory)
12.การหาปริมาณและจุดสั่งซื้อที่เหมาะสม(EOQ & Re-Order-point)
13.ปัจจัยที่สำคัญและการคำนวณปริมาณสินค้าเผื่อฉุกเฉิน (Safety Stock Calculation)
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝายจัดซื้อ วางแผนการผลิต ฝ่ายผลิต ฝ่าย
คลังสินค้า ฝ่ายขาย-การตลาด และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง